ไขข้อสงสัย “ทำตาสองชั้นมา ชั้นโตเกิน แก้ไขได้หรือไม่” และ “ทำตาแบบ ‘ฝ.’ คืออะไร”

การแก้ไข “การทําาตาสองชั้น” ที่ทําามาก่อนแล้วผิดพลาด หรือ ต้องการเปลี่ยนแปลงแม้จะสามารถทําได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกราย และก่อนอื่นต้องหาสาเหตุดูว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจะได้ไม่กล่าวโทษหมอที่ทำว่าทำไม่ดี เพราะที่จริงแล้วมีสาเหตุหลายอย่าง เช่น

การสื่อสารไม่ตรงกัน เช่น หากต้องการให้แพทย์ทํามาแล้ว ดวงตาดูเหมือนว่าโตขึ้น แต่การสื่อสารทำให้หมอเข้าใจว่าต้องการชั้นตาโต หรือด้วยค่านิยมที่ผิด หรือถูกปลูกฝังมาอย่างผิดๆ จนเกิดจากความไม่รู้ ร่วมกับการขาด ประสบการณ์ของแพทย์ เช่นหลายสิบปีก่อน คนเอเชียมีตาชั้นเดียว แต่ อยากได้ตาสองชั้น ที่ทําให้ตาดูโตขึ้นเหมือนชาวยุโรป จึงนิยมการทําตาแบบ เอเชียให้ดูเป็นตาแบบฝรั่ง ประกอบกับการทําาศัลยกรรมตกแต่งเพิ่งเริ่มต้นในประเทศไทย วิธีการทําาผ่าตัดตาก็จะใช้วิธีที่เรียนการทําตาแบบฝรั่ง ทําให้ ชั้นตาโต ลึก เข้าเบ้าตาซึ่งดูแล้วไม่เหมาะกับตาคนไทย เพราะทําให้ดูสูงอายุ กระทั่งต่อมาพบว่าการทำตาที่ถูกต้องคือการทำตาให้สวยแบบคนเอเซีย ( Asian beauty or Oriental beauty ) ไม่ใช่ทําตาให้ดูเป็นฝรั่ง ( Westernized eyes) ซงึ่ แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมานานกว่า 30 ปีแล้วว่า เราต้องการทำตาสองชั้นที่เหมาะกับหน้าคนไทย ไม่ใช่ชั้นตาใหญ่เกินไปแบบฝรั่ง

การทําตาแบบ “ฝ” ก็คือการทําาตาแบบฝรั่ง ตามที่กล่าวมาข้างต้น ที่เลิกทำมานานแล้วแต่ถูกกลับมาเผยแพร่อีกครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นเพราะแพทย์เพิ่งไปอบรม หรือเรียนจากประเทศทางตะวันตก แพทย์รุ่นใหม่ที่ไปเรียนเทคนิคนี้ เหมือนแพทย์รุ่นเก่าเมื่อ 40-50 ปีก่อน แต่เทคโนโลยี การสื่อสารสมัยใหม่ ทําให้เข้าใจว่าเป็นเทคนิคที่ดีและใหม่ ทั้งที่ศัลยแพทย์ ตกแต่งที่มีชื่อเสียงในการทําาตาคนเอเชียทั่วโลกเลิกใช้มานานแล้ว

การสร้างค่านิยมนี้ขึ้นมาก็เหมือนโลกหมุนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการทำตาอีกครั้ง ทำให้ปัจจุบัน มีคนไข้ที่หาที่แก้ไขชั้นตาโตเกินมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งการสร้างค่านิยมนี้ อาจโดยนําภาพหลังผ่าตัดตาสองชั้นที่ตาดูโตขึ้นมา เปิดเผย โดยที่ความจริงต้องทราบว่า เราสามารถทําตาให้ดูโตขึ้นได้โดย ไม่จําเป็นต้องมีชั้นตาโต

สาเหตตุต่อมาคือ ความผิดพลาดอันเกิดจากการขาดประสบการณ์ของแพทย์ เช่น กําาหนดรอยกรีดไว้สูงเกินแต่แรก หรือตัดหนังตาออกมากเกินไป ทําให้เหลือหนังตาคลุมชั้นน้อย หรือแพทย์เลาะไขมันตาออกมาก เกินไปโดยเข้าใจว่าต้องการลดการบวมของหนังตาตามที่คนไขต้องการทั้งที่ การบวมบริเวณเปลือกตาในรายนั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็เป็นได้

สําหรับสาเหตสุดท้ายซึ่งสําคัญมากในปัจจุบัน คืออาจเกิดขึ้นได้โดยที่แพทย์ไม่ได้ตั้งใจ แพทย์มีประสบการณ์ทําตามาพอควรแล้ว ตั้งใจทําตาแบบคนเอเชียให้ แต่ผลไม่เป็นตามนั้น เนื่องจากกายวิภาคตาของคนไข้ไม่ปกติเหมือนตาคนไขทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในการผ่าตัดทุกประเภท กายวิภาคที่สำคัญเหล่านี้ได้แก่ ภาวะตาโปน (Exophthalmoses), เบ้าตาลึก (sunken eyes), เปลือกตาบาง มีไขมันน้อย บางรายมีเส้นยับหลายแนวที่เปลือกตาอยู่ก่อนซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลังเมื่ออายุมากขึ้น และสุดท้ายคือ ผู้ป่วยมีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงซ่อนอยู่ โดนตนเองไม่ทราบ และแพทย์ ไม่สามารถ ตรวจพบอาการนี้ได้ก่อน (Subclinical ptosis)

ลักษณะตาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ศัลยแพทย์ควรระวัง และผู้ป่วยควรทราบไว้ก่อนเพื่อจะได้ระมัดระวังในการเลือกแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดให้ เพราะลักษณะเช่นนี้บ่งบอกว่ามีโอกาสที่จะเกิดการยึดติดของชั้นตาที่สูงกว่าแนวกรีด ชั้นตาของแพทย์ได้เสมอ แม้จะไม่ได้เลาะไขมันออกก็ตาม ทําให้ทั้งคนไข้และ แพทย์ต้องกลุ้มใจกับผลการผ่าตัด ที่ไม่ตรงกับความคาดหวังที่จะให้เกิดคือ ได้ชั้นตาที่ใหญ่เกินต้องการ

 
ภาพแสดงการผ่าตัดแก้ไขชั้นตาโตเกิน

ภาพแสดงการผ่าตัดแก้ไขชั้นตาโตเกิน

 

ปัจจุบัน วิทยาการทางการแพทย์ สามารถผ่าตัดแก้ไขชั้นตาที่โตเกิน แต่กําาเนิด หรือท่ีผ่าตัดมาแล้วชั้นตาโตเกินได้ดีพอควรแล้ว แต่ไม่สามารถ รับประกันได้ว่าจะทําาได้ทุกราย หรือบางรายอาจต้องแก้ไขหลายครั้ง เพราะ ปัญหาที่เกิดหลังจากการผ่าตัดมีความซับซ้อนหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความ เสียหายของเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อตา ที่อาจถูกทําาลายจากความไม่รู้ หรือไม่ตั้งใจ ซึ่งศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดแก้ไข ไม่สามารถประเมินความเสียหาย ภายในได้ โดยการดูลักษณะตาภายนอกอย่างเดียว บางครั้งภายนอกดูดี ไม่ เสียหายมาก แต่เน้ือเยื่อที่จะใช้แก้ไขถูกทําาลายหมดแล้ว แต่ส่วนใหญ่ของ ผู้ป่วยที่พบมา มักสามารถแก้ไขได้ยกเว้นผ่านการพยายามแก้ไขไม่ถูกต้อง มาหลายครั้ง ความยากก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

วิธีผ่าตัดแก้ไข

ถ้าแนวกรีดเดิมสูงเกินไป แพทย์จะต้องลงแนวกรีดเพื่อกำหนดขั้นใหม่ที่ตำ่กว่าเดิม โดยจำเป็นต้องเหลือรอยกรีดเดิมไว้เพื่อให้มีหนังเหลือเพียงพอ มาคลุมชั้นตาให้เล็กลงหลังผ่าตัด เวลาหลับตาก็อาจเห็นรอยกรีดเดิมเป็นรอยจางๆ แต่ก็จะดีขึ้นเรื่อยๆหลังจากเลาะชั้นออกจากแนวกรีดนั้น แล้วผ่าตัด แก้ไขตาที่ทํามาแล้ว

สิ่งสําคัญที่สุดคือ ต้องเลาะการยึดติดของชั้นเดิมให้หมดอย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์อย่างมากในการเข้าเลาะให้ถูกตำแหน่ง เพราะเนื้อเยื่อจะเป็นพังผืดติดแน่น มีโอกาสที่จะเลาะผิดแนว จนทําให้เกิด บาดแผลมากขึ้น และจะเพิ่มความเสียหายของกล้ามเนื้อตาส่วนสําาคัญขึ้น ไปอีก (Levator aponeurosis) และถ้าเลาะชั้นเดิมออกไม่หมด แล้วเกิด การยึดติดใหม่ ก็มีโอกาสจะเห็นรอยพับเดิมเกิดเป็นสามชั้นได้ ซึ่งต้องแก้ไขเพิ่มเติม

ในผู้ป่วยรายที่มีหนังเหลือมาก และสามารถตัดหนังและรอยกรีดชั้น เก่าออกได้ การแก้ไขจะง่ายมาก โอกาสเกิดสามชั้นจะน้อย แต่ต้องระวังว่า จะมีหนังเหลือคลุมชั้นให้เล็กตามที่ต้องการหรือไม่

ในรายที่ชั้นตาโตเกินหลังผ่าตัด มักจะพบว่าการลืมตา ทําได้น้อยลงกว่าเดิม การลดชั้นตาร่วมกับการทำให้กล้ามเนื้อจะทำให้ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดลดชั้นตาที่โตเกินได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น คือตาดูกลมโตขึ้นด้วย

ในผู้ป่วยหลายราย ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดแก้ไขอาจต้องใช้ไขมันของผู้ป่วยมาเสริมเติมที่เปลือกตาเพื่อทําให้ตาดูไม่ลึกและมองดูอิ่มขึ้นอีกทั้งเป็นการ ป้องกันการยึดติดใหม่ของชั้นตาเดิมด้วยไขมันนี้ อาจนำมาเป็นชิ้นเล็กๆหรือดูดจากหน้าท้องมาฉีดก็ได้ แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

นพ. กมล วัฒนไกร

ThPRS of Thailand